Tuesday, February 20, 2018

รูปแบบการสอน ADDIE



ADDIE เปนรูปแบบการสอนที่ออกแบบขึ้นมา เพื่อใชในการออกแบบและพัฒนาระบบการเรียนการสอน โดยอาศัยหลักของวิธีการระบบ (System Approach) ซึ่งเปนที่ยอมรับกันโดยทั่วไปวาสามารถนําไปใชออกแบบและพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอรไดเปนอยางดีไมาจะเปน CAI/ CBT, WBI/WBT หรือ e-Learning ก็ตาม   เนื่องจากเปนขั้นตอนที่ครอบคลุมกระบวนการทั้งหมด และเปนระบบปด (Closed System)  โดยพิจารณาจากผลลัพธในขั้นประเมินผลซึ่งเปนขั้นสุดทาย แลวนําขอมูลไปตรวจปรับ (Feedback) ขั้นตอนที่ผานมาทั้งหมด  
          ADDIE มาจากตัวอักษรตัวแรกของขั้นตอนต่าง ๆ จํานวน 5 ขั้น ได้แก่                                                 Analysis  ,Design  ,Development  , Implementation และ Evaluation


รูปแบบการสอน ADDIE ประกอบด้วย 5 ขั้นตอนดังนี้
 1. การวิเคราะห์ (A : Analysis)
 2. การออกแบบ (D : Design)
 3. การพัฒนา (D : Development)
 4. การทดลองใช้ (I : Implementation)
 5. การประเมินผล (E : Evaluation)
รายละเอียดแต่ละขั้น มีดังนี้
 1. การวิเคราะห์ (A : Analysis)   เป็นขั้นตอนแรกของรูปแบบการสอน ADDIE ซึ่งมีความสําคัญยิ่ง เนื่องจากเป็นขั้นตอนที่ส่งผลไปยังขั้นตอนอื่น ๆ ทั้งระบบ  ถ้าการวิเคราะห์ไม่ละเอียดเพียงพอ จะทําให้ขั้นตอนต่อไปขาดความสมบูรณ์ ในขั้นตอนนี้จึงใช้เวลาดําเนินการค่อนข้างมากเมื่อเปรียบเทียบกับขั้นตอนอื่น ๆ  โดยจะต้องพิจารณาในประเด็นต่าง ๆ ได้แก่ คุณลักษณะของผู้เรียน วัตถุประสงค์ ความรู้ ทักษะ และพฤติกรรมที่คาดหวัง ปริมาณและความลึกของเนื้อหา และแหล่งข้อมูลที่มีอยู่ ซึ่งประกอบด้วยการดําเนินการต่าง ๆ ดังนี้
   ประเมินความต้องการและผู้เรียน (Assess Needs and Audience)
   กําหนดเนื้อหาทั้งหมดและเป้าหมาย (Determine Overall Content and Goals)
   ระบุระบบนิพนธ์และระบบการนําส่งบทเรียน (Specify Authoring and Delivery
Systems)
   วางแผนขอบเขตของโครงการทั้งหมด (Plan Overall Project Scope)
   วางแผนกลยุทธ์การประเมินผลทั้งหมด (Plan Overall Evaluation Strategies)
  ผลลัพธ์ที่ได้จากขั้นตอนการวิเคราะห์ มีดังนี้
  1) รายงานผลการประเมินความต้องการ (Needs Assessment Report)
  2) คุณลักษณะของผู้เรียน (Learner Profile)
  3) โครงร่างของเนื้อหา (Content Outline)
  4) ขั้นตอนการเรียนรู้ (Learning Hierarchy)
  5) วิธีการออกแบบ (Design Approach) 
  6) ข้อกําหนดทางเทคนิค (Technical Specifications)
  7) กลยุทธ์การประเมินผล (Evaluation Strategies)
  8) ตารางเวลาของโครงการ (Project Timetable)
           บุคลากรที่เกี่ยวข้องในขั้นตอนนี้   ได้แก่ ผู้บริหารโครงการ ผู้จัดการโครงการ ผู้ออกแบบ
ระบบการสอน ผู้ประเมินโครงการ โปรแกรมเมอร์ และผู้เชี่ยวชาญด้านต่าง ๆ
2. การออกแบบ (D : Design)  เป็นขั้นตอนที่ดําเนินการต่าง ๆ ที่จะนําไปสู่เป้าหมายที่ ตั้งไว้  โดยออกแบบบทเรียนตามกลยุทธ์ที่ได้จากขั้นตอนการวิเคราะห์ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการทํางานด้านเอกสารเช่นกัน โดยจะต้องพิจารณาในประเด็นต่าง ๆ ได้แก่ วัตถุประสงค์ของบทเรียน การเรียงลําดับเนื้อหา วิธีการนําเสนอเนื้อหา การเลือกใช้สื่อ และการนําเสนอแบบทดสอบ เป็นต้น  ซึ่งประกอบด้วยการดําเนินการต่าง ๆ ดังนี้
  2.1 เขียนวัตถุประสงค์แต่ละหน่วย (Write Objectives by Unit)
  2.2 ระบุการปฏิสัมพันธ์ของบทเรียน (Specify Instructional Interactions)
  2.3 สร้างแบบทดสอบวัดผล (Conduct Performance Test)
  2.4 ออกแบบหน้าจอและกราฟิก (Screen Design and Graphic)
  2.5 ออกแบบเทมเพลทของบทเรียน (Screen Templates Design)
  2.6 เขียนผังงานบทเรียน (Write Lesson Flowcharts)
  2.7 เขียนบทดําเนินเรื่อง (Storyboarding)
  2.8 สร้างบทเรียนต้นแบบ (Prototyping)
  ผลลัพธ์ที่ได้จากขั้นตอนการออกแบบ มีดังนี้
  1) วัตถุประสงค์ของบทเรียน (Objectives)
  2) เนื้อหาบทเรียนที่ออกแบบ (Design Document)
3) แบบฝึกหัดและแบบทดสอบวัดผล (Exercises and Performance Test)
  4) ต้นแบบของการเรียนการสอน (Instructional Archetypes)
  5) ผังงานบทเรียน (Lesson Flowcharts)
  6) บทดําเนินเรื่อง (Storyboard)
  7) บทเรียนต้นแบบ (Prototype)
           บุคลากรที่เกี่ยวข้องในขั้นตอนนี้  ได้แก่ ผู้จัดการโครงการ ผู้ออกแบบระบบการสอน
ผู้ประเมินโครงการ โปรแกรมเมอร์ ผู้ออกแบบกราฟิก และผู้ผลิตบทเรียน
3. การพัฒนา (D : Development) เป็นขั้นตอนที่นําผลลัพธ์ที่ได้จากขั้นตอนการออกแบบมาดําเนินการต่อ เป็นการลงมือปฏิบัติจริงเพื่อพัฒนาเป็นบทเรียนตามแผนการที่วิเคราะห์ไว้ตั้งแต่ขั้นตอนแรก โดยใช้ระบบนิพนธ์หรือซอฟท์แวร์คอมพิวเตอร์เพื่อให้ได้มาซึ่งบทเรียนต้นแบบ พร้อมจะนําไปทดลองใช้ในขั้นต่อไป ซึ่งประกอบด้วยการดําเนิน การต่าง ๆ ดังนี้
  3.1 เตรียมวัสดุประกอบบทเรียน (Preparing Adjunct Materials)
  3.2 เขียนบทเรียน (Writing/Authoring)   ในขั้นนี้ประกอบด้วย การสร้างสรรค์กราฟิก
(Creating Graphics) การสร้างการปฏิสัมพันธ์บทเรียน และการสร้างบทเรียนพร้อมแบบทดสอบ
  3.3 ดําเนินการผลิต (Conduct Production)    ในขั้นนี้ประกอบด้วย การผลิตขั้นต้น
(Preproduction) การผลิตจริง (Production) และการดําเนินการหลังการผลิต (Postproduction)
  3.4 รวมสื่อทั้งหมดเข้าด้วยกันเป็นบทเรียนและเขียนโปรแกรมจัดการ (Integrating
Media and Coding)  
  ผลลัพธ์ที่ได้จากขั้นตอนการพัฒนา มีดังนี้
   1) วัสดุประกอบการเรียน (Adjunct Materials)
  2) ตัวบทเรียน  ประกอบด้วยข้อความ กราฟิก ภาพเคลื่อนไหว เสียง วีดิทัศน์ และการปฏิสัมพันธ์  รวมทั้งเอกสารประกอบบทเรียน
  3) โปรแกรมการจัดการบทเรียน 
         
4. การทดลองใช้ (I : Implementation)  เป็นการนําบทเรียนที่พัฒนาขึ้น เพื่อนําไปใช้กับกลุ่มเป้าหมายตามวิธีการที่วางแผนไว้ตั้งแต่ต้น  ประกอบด้วยการดําเนินการต่าง ๆ ดังนี้
  4.1 ติดตั้งบทเรียน (Installation)  
  4.2 จัดตารางเวลาพร้อมปรับหลักสูตร (Scheduling and Syllabus Adjustment)
  4.3 ลงทะเบียนเรียนและบริหารบทเรียน (Enrollment and Administration)
  4.4 ปฐมนิเทศผู้เรียน (Orientation)
  4.5 วางแผนการสนับสนุนจากผู้สอน (Instructor Plans Facilitation)
  4.6 จัดสิ่งสนับสนุนบทเรียน (Facilitation of Course)
  ผลลัพธ์ที่ได้จากขั้นตอนการทดลองใช้ มีดังนี้
  1) บัญชีรายชื่อชั้นเรียน (Class Roster)
  1) การเรียนการสอน (Instructional)
  2) แผนการสนับสนุนจากผู้สอน (Instructor’s Facilitation Plan) 
 5. การประเมินผล (E : Evaluation)    เป็นขั้นตอนสุดท้ายของรูปแบบการสอน ADDIE  เพื่อประเมินผลบทเรียนและนําผลที่ได้ไปปรับปรุงแก้ไข เพื่อให้ได้บทเรียนที่มีคุณภาพ  ประกอบด้วยการดําเนินการต่าง ๆ ดังนี้
  5.1 จัดทําเอกสารโครงการ (Documenting Project)
  5.2 ทดสอบบทเรียน (Testing)
  5.3 ปรับบทเรียนให้ใช้งานได้ (Validation)
  5.4 ประเมินผลกระทบ (Conducting Impact Evaluation)
  ผลลัพธ์ที่ได้จากขั้นตอนการประเมินผล มีดังนี้
  1) เอกสารโครงการ (Documentation) ได่แก่ บันทึกข้อมูลด้านเวลา (Record Time Data)  รายงานผู้ใช้บทเรียนและผู้ควบคุม (Trainees and Supervisors Report) และ ผลสรุปของข้อคําถามบทเรียน (Course Review Question Results) เป็นต้น
  2) คุณภาพของบทเรียน (Quality)   ได้แก่ ประสิทธิภาพ (Efficiency) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน (Effectiveness) และความพึงพอใจ (Satisfaction) เป็นต้น
  3) รายงานผลกระทบของบทเรียน (Impact Evaluation Report)








 อ้างอิง
พิจิตรา ธงพานิช. วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน. นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.

No comments:

Post a Comment